ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

-------------

5

จำนวนนิสิตที่รับ

57

จำนวนหน่วยกิต

รายละเอียด

 
ชื่อหลักสูตร  
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Business Administration
 
ชื่อปริญญา  
ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารธุรกิจ)
  : Doctor of Philosophy (Business Administration)
ชื่อย่อ : ปร.ด. (บริหารธุรกิจ)
  : Ph.D. (Business Administration)
 
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
  1. กรณีจัดการศึกษาตามแบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 57(6) หน่วยกิต
  2. กรณีจัดการศึกษาตามแบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 57(6) หน่วยกิต

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. ปรัชญาหลักสูตร
    เป็นศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจระดับสูง เป็นศาสตร์ที่บูรณาการความรู้สู่การพัฒนานักวิจัยมืออาชีพด้านการบริหารธุรกิจ ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล สรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมทางการบริหารธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ
  2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    1. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีจิตส านึกทางคุณธรรมและจริยธรรม
    2. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่มีความรู้ศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจอย่างลึกซึ้ง สามารถนำองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
    3. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจที่เป็นนักวิจัยมืออาชีพด้านบริหารธุรกิจ ที่สามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ สรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศเทศชาติ
    4. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ ที่สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเป็นผู้นำ คิดเชิงวิพากษ์ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีความสามารถสูงในการแสดงความเห็นทางวิชาการ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและส่วนรวม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง มีการวางแผน ประเมิน และปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    5. ผลิตดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารธุรกิจ ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิจัย มีความเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปขั้นสูง เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลเชิงคุณภาพในการวิจัย สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการจัดการกับรายการทางบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิง สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเสนอรายงานวิทยานิพนธ์หรือโครงการค้นคว้าที่ตีพิมพ์ในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

อาชีพที่ปฏิบัติได้หลังสำเร็จการศึกษา
    1. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษา
    2. นักวิจัย
    3. นักวิชาการ

    ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม

    แผนการศึกษาและคำอธิบายรายวิชา