ผศ.ดร. สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์

ผศ.ดร. สิทธิชัย ลีวิวัฒน์วงศ์
ประธานหลักสูตร
ดร. อัศวเทพ อากาศวิภาต

ดร. อัศวเทพ อากาศวิภาต
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงินและการลงทุน
ดร. สมคิด ยาเคน

ดร. สมคิด ยาเคน
อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเงินและการลงทุน
รศ. สิริเกียรติ รัชชุศานติ

รศ. สิริเกียรติ รัชชุศานติ
ผู้ทรงคุณวุฒิ
 
ชื่อหลักสูตร  
ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Finance and Banking
 
ชื่อปริญญา  
ชื่อเต็ม : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงินและการธนาคาร)
  : Bachelor of Business Administration (Finance and Banking)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (การเงินและการธนาคาร)
  : B.B.A. (Finance and Banking)
 
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
   127 หน่วยกิต

ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  1. ปรัชญาหลักสูตร
    หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร เป็นศาสตร์แห่งการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารทางการเงินและการธนาคาร มุ่งเน้นการปลูกฝังในจรรยาบรรณทางวิชาชีพให้กับบัณฑิต อันจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
    1.เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถและมีคุณภาพในศาสตร์ด้านการเงิน การธนาคาร การลงทุน และศาสตร์ในการบริหารธุรกิจด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในระดับประเทศและระดับสากล
    จัดการธุรกิจที่ทันสมัยให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจในศตวรรษที่ 21
    2.เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความสามารถในการบูรณาการความรู้ด้านการบริหารทางการเงินและสามารถนำความรู้ไปใช้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน โดยใช้เครื่องมือการบริหารทางการเงิน อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจในระดับชาติ
    3.เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกทางคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพและการปฏิบัติงานด้านการเงิน การธนาคาร และการลงทุนได้อย่างเหมาะสม

อาชีพที่ปฏิบัติได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ประกอบอาชีพในหน่วยงานสถาบันการเงิน เช่น ผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ นักการวางแผนการลงทุน พนักงานกองทุนรวม นักวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดการความเสี่ยง พนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญ นักการประกันภัย พนักงานประกันชีวิต นักวิเคราะห์สินเชื่อและจัดการหนี้ และนักการธนาคาร
2. สามารถทำงานในหน่วยงานเอกชน และรัฐบาล ได้ในส่วนงานด้านการเงิน เช่น ผู้ตรวจสอบสถาบันการเงิน และพนักงานวางแผนทางการเงิน
3. นักวิชาการทางการเงิน เช่น อาจารย์ในมหาวิทยาลัย อาจารย์ในสถาบันวิชาชีพ และนักวิจัยอิสระ
4. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว


ดาวน์โหลดรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติม
แผนการศึกษาและคำอธิบายรายวิชา